ยา อาหารเสริม อะไรบ้างที่ควรกินและไม่ควรกินคู่กัน
ผู้บริโภคหลายคนอาจจะเคยได้ยินมาบ้างเวลาที่ซื้อยาหรืออาหารเสริมว่า ให้กินคู่กับตัวนี้ ตัวนั้น หรือถามจากคนขายว่าจะต้องกินกับตัวไหนมั้ย หรือกินกับอะไรถึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น แต่จริง ๆ แล้ว ยาและอาหารเสริม ไม่ได้สามารถกินคู่กับตัวอื่นได้หมด
บางตัวกินคู่กันแล้วให้ผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น แต่บางตัวนอกจากจะไม่ช่วยให้ผลลัพธ์ดีขึ้นแล้ว ยังส่งผลเสียต่อร่างกาย อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้อีกด้วย ดังนั้นการเลือกกินอาหารเสริมและยาสักตัวนั้น จะต้องศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วนว่า สามารถกินคู่กับอะไรได้บ้าง หรือไม่ควรกินกับตัวไหนบ้าง วันนี้เราก็มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการจับคู่กินอาหารเสริมหรือยามาฝากกัน มาดูดีกว่าว่าอาหารเสริมหรือยาที่เรากินเป็นประจำนั้น สามารถกินคู่กับอะไรหรือไม่ควรกินคู่กับอะไรบ้าง
อาหารเสริมหรือยาที่ควรกินด้วยกัน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ
- วิตามินซี กับ คอลลาจน เป็นอาหารเสริมที่ควรกินด้วยกัน เพราะวิตามินจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมคอลลาเจนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และเพื่อช่วยกันเสริมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ให้ผิวสวยใส สุขภาพดี ไม่หย่อนคล้อย
- วิตามินซี กับ ธาตุเหล็ก การกินวิตามินซีจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กไปใช้ในร่างกายได้ เช่น ถ้าการกินต้มเลือดหมู ควรกินทั้งเลือดหมู (ที่มีธาตุเหล็ก) และใบตำลึง (ที่มีวิตามินซี) เพื่อให้ร่างกายนำธาตุเหล็กดูดซึมไปใช้ได้ด้วย
- แคลเซียม กับ แมกนีเซียม เมื่อร่างกายจะดูดซึมแคลเซ๊ยมไปใช้ จำเป็นต้องมีแมกนีเซียมช่วย นอกจากนี้ร่างกายยังต้องการวิตามินดี และวิตามินเคด้วย (นอกจากในอาหารเสริมแล้ว วิตามินยังอยู่ในแดดยามเช้า วิตามินเคอยู่ในผักใบเขียวเข้ม)
- วิตามินเอ ซี และ อี ควรกินด้วยกันเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพซึ่งกันและกัน สามารถหากินจากอาหารได้เช่นกัน อย่างเช่น ผลไม้รสเปรี้ยว ผักใบเขียวอย่าง คะน้า และถั่วลิสง เป็นต้น
- น้ำมันปลา (ที่ไม่ใช่น้ำมันตับปลา) ให้เลือกชนิดที่มี DHA คู่กับ EPA อย่างน้อยกินให้ได้ค่า ดีเอชเอ+อีพีเอ = 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน โดยมีเคล็ดไว้ว่าถ้าอยากบำรุงสมองต้องเลือกชนิดที่มดีเอชเอเด่น แต่ถ้าจะให้บำรุงส่วนอื่นเป็นหลัก เช่นข้ออักเสบให้เลือกชนิดที่มีอีพีเอสูง
อาหารเสริมหรือยาที่ไม่ควรกินด้วยกัน อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
- น้ำมันปลา กับ ยาแอสไพริน น้ำมันปลามีฤทธิ์ช่วยให้เลือดใสไม่หนืดเหนียว ส่วนแอสไพรินก็มีฤทธิ์เดียวกัน คือช่วยให้ไม่เกิดลิ่มเลือดจับแข็งเป็นก้อนตัน เมื่อกินคู่กันเลยอาจทพให้เลือดไหลไม่หยุด แม่แค่กรอฟันนิดเดียวก็อาจทำให้เลือดออกได้ราวกับผ่าตัดใหญ่
- วิตามินอี และอีฟนิ่งพริมโรส เพราะในอีฟนิ่งพริมโรสก็มีวิตามินอี หากกินด้วยกันอาจทำให้ร่างกายได้รับวิตามินอีมากเกินไป และอาจเป็นอันตรายต่อหัวใจได้
- แคลเซียมเสริม กับห แคลเซียมสด คือกินทั้งเป็นอาหารเสริม และอาหารที่มีแคลเซียมสูงควบคู่ไปด้วยกัน เช่น กินงาดำได้วันละ 4 ช้อนโต๊ะ หรือเต้าหู้ขาวแข็งวันละ 3 ขีดก็จะได้แคลเซียมราว 1,000 มิลลิกรัมอยู่แล้ว ถ้าไปหาแคลเซียมเม็ดมากินเติมอีก จะทำให้แคลเซียมเกินและไปจับกับหลอดเลือดทำให้ตีบแข็งได้
- กาแฟ และ แคลเซียม ขอให้เลี่ยงกินแคลเซียมร่วมกับกาแฟ เพราะกาแฟจะไปยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม นอกจากนั้นยังไปดึงแคลเซียมออกจากกระดูกอีกด้วย
- ธาตุเหล็ก กับ ภาวะเลือดจาง หรือธาลัสซีเมีย ขอให้ลืมความเชื่อที่ว่าถ้าเลือดจางต้องกินธาตุเหล็ก เพราะมันไม่เสมอไป หากเป็นเลือดจางชนิดธาลัสซีเมียแล้วไปกินธาตุเหล็กเสริม อาจเป็นอันตรายต่อหัวใจและตับได้
ยังมีคู่ยาหรืออาหารเสริมที่ดี และเป็นอันตรายต่อร่างกายอีกมาก หากไม่แน่ใจว่าที่เรากำลังกินอยู่อันตรายหรือไม่ สามารถปรึกษาเภสัชกรตามร้านขายยาใกล้บ้าน หรือสามารถพบแพทย์ประจำตัวที่เข้ารับการรักษาอยู่เป็นประจำได้เช่นกัน
แหล่งที่มา : www.sanook.com