อาหารเสริมดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่

อาหารเสริมดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่ อาหารเสริม เป็น สารอาหารที่ใช้ประทานเพิ่มเติมจากอาหารมื้อหลัก อาจจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ หรือเพื่อบำรุงสุขภาพตามความเชื่อของบางบุคคล ส่วนสารอาหารที่มักถูกหนำมาทำเป็นอาหารเสริมได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน พืช ผัก สมุนไพรต่าง ๆ เป็นต้น แต่หลายคนก็มีถามเกี่ยวกับตัวอาหารเสริมเหล่านี้ว่า มันดีต่อสุขภาพจริง ๆ หรือ ซึ่งวันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน อาหารเสริม ไม่ใช่ ยา พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย เผยว่า จากบทความทางการแพทย์ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA ปี 2002 พบว่าชาวอเมริกันจำนวนมากมีระดับวิตามินในเลือดต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งมีปัจจัยมาจากมีคนจำนวน 20 – 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถรับประทานผักผลไม้ ซึ่งเป็นแหล่งวิตามินต่าง  ๆได้ครบ 5 หน่วยบริโภคต่อวันตามที่แพทย์แนะนำ ต่อมาลักษณะของอาหารในทุกวันนี้ที่ผลิตขึ้นตามกระบวนการอุตสาหกรรม อย่างอาหารกระป๋องหรืออาหารแช่แข็ง ประกอบกับการขนส่งยังใช้เวลานานกว่าจะถึงผู้บริโภค ทำให้ปริมาณวิตามินที่อยู่ในผัก ผลไม้เหลือไม่มาก และปัจจุบันคนส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาหารที่ปรุงสำเร็จนอกบ้าน ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ มีปัญหาเรื่องการดูดซึม การเจ็บป่วยเรื้อรัง และในผู้สูงอายุ “ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้น เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งที่ไม่ใช่การทดแทนการรับประทานอาหารให้ครบมื้อที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพได้ แต่เสริมให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น และไม่ใช่ยารักษาโรค…

บริโภคอาหารเสริมอย่างไรให้ปลอดภัย

บริโภคอาหารเสริมอย่างไรให้ปลอดภัย อาหารเสริม หรืออีกชื่อก็คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นสารอาหารที่ใช่รับประทานเพิ่มเติมจากมื้ออาหารหลัก อาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ บำรุงสุขภาพสุขภาพ หรือแม้แต่บำรุงเรื่องอื่น ๆ อย่างผิวพรรณ ส่วนสารอาหารที่มักถูกนำมาทำเป็นอาหารเสริมได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน พืช ผัก สมุนไพรต่าง ๆ เป็นต้น โดยในปัจจุบันอาหารเสริมนั้นถูผลิตมาให้สามารถรับประทานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบเม็ด แบบแคปซูล แบบผงและแบบน้ำ ซึ่งการบริโภคอาหารเสริมนั้นก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร พร้อมศึกษาข้อมูลการบริโภคอาหารเสริมแต่ละชนิดให้ถี่ถ้วนก่อนเสมอ เพราะการรับสารอาหารชนิดใดเข้าสู่ร่างกายมากเกิดพอดี อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกัน บริโภคอาหารเสริมอย่างไรให้ปลอดภัย ก่อนรับประทานอาหารเสริมชนิดใด ควรพิจารณาและขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญในประเด็นต่าง ๆ เช่น ประโยชน์ต่อสุขภาพทั่วไป ประโยชน์และความเหมาะสมต่อสภาพร่างกายของผู้บริโภค ความปลอดภัยและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ วิธีการ ปริมาณ และระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการบริโภคเป็นต้น ศึกษาข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนการบริโภคเกี่ยวกับชนิดของอาหารเสริม ส่วนผสมในอาหารเสริม และข้อมูลสำคัญสำหรับผู้บริโภค อย่างวิธีการบริโภคและผลข้างเคียงที่เคยเกิดขึ้นกับผู้บริโภคอื่น ๆ ไม่บริโภคอาหารเสริมเพื่อรักษาอาหารป่วยที่ตัวเองสงสัย แต่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าควรบริโภคอาหารเสริมชนิดนั้น ไม่บริโภคอาหารเสริมแทนยารักษา หรือบริโภคร่วมกับยารักษา หากต้องเข้ารับกาผ่าตัดหรือเข้ารับการรักษาใด ๆ ให้แจ้งกับแพทย์ผู้ดูแลก่อนทุกครั้งว่ากำลังรับประทานอาหารเสริมชนิดใดอยู่ ผู้ที่วางแผนมีบุตร ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ต้องระมัดระวังในการใช้อาหารเสริมเป็นอย่างยิ่ง เพราะสารเคมีที่ร่างกายได้รับ อาจส่งต่อไปยังบุตรและทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อทารกได้…